วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ



นางสาวเกษรินทร์ คงทัน

  เลขที่ 20  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

โรงเรียนนครไทย  

อำเภอนครไทย    จังหวัดพิษณุโลก

เศรษฐกิจของจังหวัดน่าน

เศรษฐกิจของจังหวัดน่าน


         ปัจจุบันการประกอบกิจการโรงงานโดยเฉพาะการแปรรูปทางการเกษตรในจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ  เช่น การกะเทาะเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานท์นำวัตถุดิบมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  การแปรรูปถั่วลิสง นำวัตถุดิบมาจาก  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือการทำลูกตาวในน้ำเชื่อม นำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศลาว ฯลฯ  เป็นต้น  จะเห็นว่าจังหวัดน่านในอดีตที่ผ่านมามีความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิบสามารถป้อนเข้าสู่โรงงานในจังหวัดอย่างเพียงพอแต่ในปัจจุบันโรงงานต้องนำเข้าวัตถุดิบมาจากที่อื่นเนื่องจากวัตถุดิบในจังหวัดน่านนับวันจะขาดแคลนและมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานทำให้ต้องสูญเสียเวลาและต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงในการไปจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งต่างๆ  ดังนั้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ในฐานะเป็นหน่วยงานในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดน่าน  จำเป็นต้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสร้างและสนับสนุนวัตถุดิบเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น  โครงการส่งเสริมและพัฒนาวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม   
                    แนวโน้มวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีการขยายตัวมากขึ้นในจังหวัดน่าน ได้แก่ การปลูกยางพารา  ซึ่งเป็นวัตถุดิบรองรับการแปรรูปจากยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในอนาคต      ในเดือนตุลาคม 2551  มีนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนตั้งโรงงานการแปรรูปจากยางพารา จำนวน  1 โรงงาน ได้แก่ บริษัท น่านรับเบอร์ จำกัด ประกอบกิจการ ทำยางแผ่นในขั้นต้นและทำยางแผ่นรมควัน ตั้งโรงงานอยู่  หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำแก่น อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีกำลังการผลิตยางแผ่นรมควัน 360,000 กก./ปี โดยรับซื้อน้ำยางสดและยางแผ่นดิบจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่านจะเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีการตั้งโรงงานการแปรรูปจากยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในจังหวัดน่านเพิ่มขึ้น

  

อาหารพื้นบ้านของจังหวัดน่าน

อาหารพื้นบ้านของจังหวัดน่าน




ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร
แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน
ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา
ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย 
  อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น
น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู
และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล 
ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำุ์
พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน 
ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน



ประเพณีวัฒนธรรมจังหวัดน่า่น

ประเพณีวัฒนธรรมจังหวัดน่า่น


เทศกาลงานประเพณี



งานประเพณีไหว้พระธาตุ เมืองน่านเป็นเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเป็นเวลาช้านาน ในเขตเมืองเก่า ทั้งในตัวเมืองน่านและที่อำเภอปัวจะมีพระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาเด่นเป็นสง่า ในรอบปีมีงานประเพณีบูชาพระธาตุสำคัญ ได้แก่ งานนมัสการพระธาตุเบ็งสกัด ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม) งานประเพณี “หกเป็งไหว้สามหาธาตุแช่แห้ง” ในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔  ภาคกลาง (ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) มีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา  งานประเพณีนมัสการพระธาตุเขาน้อย ในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ภาคกลาง(ประมาณเดือนพฤษภาคม) มีงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย และมีการจุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชา งานประเพณีนมัสการสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาลช่วงเทศกาลสงกรานต์ ๑๒-๑๕ เมษายน 
งานตานก๋วยสลาก งานแห่คัวตาน หรือครัวทาน ทานสลาก หรือก๋วยสลากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับชาวเหนือถือว่าเป็นประเพณีทำบุญกลางบ้านที่ยิ่งใหญ่และสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น พระภิกษุรับนิมนต์เพื่อมารับการถวายทานโดยการจับสลาก 
งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน  ประเพณีแข่งเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานต่อมาใน
พ.ศ. ๒๔๗๙  ได้จัดให้มีการแข่งเรือในงานทอดกฐินสามัคคีสืบทอดมาจนถึงงานทอดกฐินพระราชทานในปัจจุบัน ราวกลางเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยถือเอาวันเปิดสนามแข่งเรือตามวันถวายสลากภัตของวัดช้างค้ำวรวิหารซึ่งเป็นวัดหลวง จะจัดงานถวายสลากภัตก่อน งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่านจึงเป็นประเพณีคู่กับตานก๋วยสลากของวัดช้างค้ำมาจนทุกวันนี้ ภายหลังทางจังหวัดได้ผนวกงานสมโภชงาช้างดำอันเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านเข้าไปด้วย   นอกจากนั้นยังมีงานแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาในเทศกาลตานก๋วยสลาก 
เรือที่เข้าแข่งแต่ละลำใช้ไม้ซุงใหญ่ ๆ  เอามาขุดเป็นเรือ  เอกลักษณ์โดดเด่นของเรือแข่งเมืองน่าน คือ ที่หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค ชูคอสง่างาม หางเรือเป็นหางพญานาคงอนสูง ด้วยคนเมืองน่านเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนคือ เจ้าขุนนุ่น ขุนฟอง เกิดจากไข่พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ การต่อเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงถือเป็นการบูชาบุญคุณพญานาคผู้เป็นเจ้าแห่งน้ำและบรรพบุรุษของชาวเมืองน่าน
ประเภทการแข่งขัน มีทั้งเรือใหญ่  เรือกลาง  และเรือเล็ก  รวมทั้งประเภทสวยงาม    นอกจากนี้ยังมีการประกวดกองเชียร์อีกด้วย  และหากมาในช่วงซ้อมก่อนการแข่งขัน ตอนเย็น ๆ จะเห็นชาวบ้าน นักเรียนจับกลุ่มอยู่ริมน้ำเพื่อดูการซ้อมเรือ เชียร์ทีมเรือ และฝีพาย ที่เป็นคนท้องถิ่น เป็นวิถีชีวิตที่มีสีสัน และเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ นับเป็นประเพณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง 
 งานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน  จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน  พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน   แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม  และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า   เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศคือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน  ๘  องศา    เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว  
กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง  ได้แก่  การประกวดขบวนรถส้มสีทอง  การออกร้านนิทรรศการ  การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่าง ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมากมาย 
พิธีสืบชะตา เป็นประเพณีโบราณ มักทำในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเกิดอายุครบรอบ ฟื้นจากการเจ็บป่วย การสืบชะตาถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ เป็นสิริมงคล และขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไป ต่อมามีการประยุกต์พิธีสืบชะตากับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 
ดนตรีพื้นบ้าน ปิน สะล้อ ซอน่าน พ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) คือผู้เชี่ยวชาญปิน (ซึง) และสะล้อ และยังสามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรี คำร้อง และทำนองเพลงซอปั่นฝ้าย ศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่งคือ พ่อครูคำผายนุปิง ผู้ขับ “ซอล่องน่าน” ที่เล่าถึงตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองน่าน ตามเรื่องเล่าขานกันมาช้านานว่า ครั้งเมื่อพระยาการเมืองอพยพย้ายเมืองจากวรนคร อำเภอปัว มาสร้างเมืองใหม่ที่ภูเพียงแช่แห้งนั้น ขบวนเสด็จแห่แหนใหญ่โตมาตามลำน้ำน่าน ผู้ติดตาม คือ ปู่คำมาและย่าคำปี้ ขับร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี คลอปิน และสะล้อ เพื่อไม่ให้การเดินทางน่าเบื่อ
ผลไม้-อาหารพื้นเมือง 
ผลไม้ที่มีชื่อของจังหวัด  ได้แก่  ส้มสีทอง  มะไฟจีน  ลิ้นจี่  และต๋าว หรือ ตาว (เป็นชื่อปาล์มชนิดหนึ่งใบคล้ายมะพร้าว ออกผลเป็นทะลาย เนื้อในเมล็ดอ่อน เรียกว่า ลูกชิด เชื่อมกินได้) หาชิมได้ไม่ยาก และราคาย่อมเยา ที่ “กาดเช้า” หรือตลาดเช้า ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองหรือตลาดก่อนถึงทางขึ้นพระธาตุเขาน้อย และที่
“กาดแลง” หรือตลาดเย็น (เริ่มประมาณบ่ายสามโมง) หน้าโรงแรมเทวราช อาหารท้องถิ่นเมืองน่านอุดมด้วยเครื่องสมุนไพร ผักพื้นบ้านเครื่องเทศ โดยเฉพาะมะแข่น ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด เช่น ยำลาบ ยำชิ้นไก่ แกงขนุน และแกงผักกาด รับประทานกับข้าวนึ่งร้อน ๆ อาหารพื้นบ้านเมืองน่านหลายชนิด คล้ายกับอาหารล้านนาทั่วไป เช่น ไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง และแกงฮังเล แต่บางชนิดเป็นอาหารเฉพาะถิ่น และมีให้รับประทานในบางฤดูกาลเท่านั้น 
ไค (อ่านว่า ไก”) ไค เป็นพืชน้ำ มีเส้นสีเขียวยาวเหมือนเส้นผม งอกตามหินผาใต้ลำน้ำโขงมีขนาดใหญ่และยาวกว่า “เทา” (อ่านว่า “เตา”) ซึ่งเป็นพืชประเภทเดียวกันที่ขึ้นตามห้วย หนอง คลอง บึง และนาข้าว แต่คนเมืองน่านเรียกสาหร่ายจากแม่น้ำว่า “ไค” และ “เตา” ส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำน่าน นอกจากนั้นยังมีจากแม่น้ำว้า ถือเป็นดัชนีบ่งชี้ความสะอาดของน้ำได้เป็นอย่างดี หารับประทานได้ในฤดูหนาว และไคนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง อาทิ แกงไค ห่อนึ่งไค และไคพรุ่ย
แกงไค (อ่านว่า แก๋งไก”) มีทั้งแกงไคแบบไม่ใส่เนื้อและใส่เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อปลาดุก หรือปลาช่อน หากเป็นแกงไคใส่เนื้อนอกจากพริกแกงที่ประกอบด้วยพริกสด กระเทียม หอม ปลาร้าหรือกะปิแล้ว จะใส่เถาสะค้าน (เป็นไม้เถา ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ตะค้านก็ได้) ข่าอ่อน และใบมะกรูด
ห่อนึ่งไค คล้ายห่อหมกในภาคกลางเพียงแต่ไม่ใส่กะทิ มีทั้งห่อนึ่งไคไม่ใส่เนื้อ โดยนำไคมาผสมกับเครื่องแกงซึ่งประกอบด้วยพริกแห้ง หอม กระเทียม กะปิ หรือปลาร้า และใบมะกรูด นำไปห่อใบตองแล้วนึ่ง
ถ้าเป็นห่อนึ่งไคใส่เนื้อ จะโรยหน้าด้วยเถาสะค้านหั่นเป็นแว่น ใบมะกรูด และพริกขี้หนู
ไคพรุ่ย (อ่านว่า ไกพุ่ย”) นำไคแห้งมาปิ้งถ่านไฟให้สุกออกเหลือง แล้วฉีกเป็นฝอยละเอียด นำไปผัดกับกระเทียมเจียวใส่เกลือป่นโรยให้ทั่ว 
น้ำปู หรือที่ทางเหนือเรียก “น้ำปู๋” ทำจากปูนาโขลกผสมกับตะไคร้ และขมิ้น แล้วกรองแต่น้ำจากนั้นนำไปเคี่ยวไฟอ่อน ๆ พร้อมตะไคร้ ขมิ้น พริกป่น เกลือ และน้ำมะนาว จนกว่าน้ำจะงวดข้น น้ำปูใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ และน้ำพริกปู 
แกงส้มเมือง ต่างจากแกงส้มภาคกลางที่ใส่น้ำมะขามเปียก แกงส้มเมืองน่านมีสีเหลืองจากน้ำขมิ้น หอม เครื่องแกงที่ประกอบด้วยตะไคร้ ขมิ้น พริกชี้ฟ้า หรือพริกขี้หนูสด หอมแดง กะปิ ที่โขลกเคล้าด้วยกัน ใส่มะเขือเทศ ผักบุ้ง ตำลึง และผักกูด ก่อนเนื้อปลาสุกใส่ใบแมงลักให้หอมเติมมะนาว หรือใส่ใบส้มป่อยด้วยก็ได้ 
ส้มสีทอง เริ่มมีการปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หมื่นระกำ ผู้คุมเรือนจำจังหวัดน่านเป็นผู้นำมาปลูกครั้งแรก ส้มสีทองให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในกลางเดือนธันวาคม หรือต้นเดือนมกราคม
องุ่นดำน่านฟ้า ได้รับชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ เป็นองุ่นพันธุ์ดีจากไต้หวัน                
มะไฟจีน แหล่งเดิมอยู่ที่ประเทศจีนเชื่อว่าชาวจีนเป็นผู้นำมาปลูกในจังหวัดน่านเมื่อประมาณ ๘๐ ปีมาแล้ว เป็นผลไม้ที่มีอยู่ที่จังหวัดน่านเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย มีสรรพคุณเป็นยา คือช่วยระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจโล่งจมูก ชุ่มคอ รับประทานสดตอนที่ผลแก่จัดมีรสหวาน หรือตากแห้งแล้วแช่อิ่ม

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน

พระบรมธาตุแช่แห้ง 



               พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบล ม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปราว 2กม. เส้นทางสายน่าน-แม่จริม สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่าพญาการ เมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมสกุลช่างน่าน


วัดพระธาตุเขาน้อย 



           ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าได้ รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันวัดพระธาตุเขาน้อย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ และเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนดอยเบาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม. หน้าวัดมีทางขึ้นเป็นบันไดนาค303 ขั้น


อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
  อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตก และตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็น ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังใน เขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา พบสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น นกยูงซึ่งมี อยู่หลาย ฝูง เสือดาว เสือดำ หมี กวาง หมาป่า และหมาในมีสัตว์ป่า หลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า วัวแดง และกระทิง ซึ่งจะอพยพไปมาระหว่างเขตติดต่อประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว




วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดน่าน

File:Seal Nan.png

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด รูปพระธาตุแช่แห้งบนหลังวัว

ข้อมูลทั่วไป
        น่านมีพื้นที่ ๑๑,๔๗๒.๐๗๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๗ ล้านไร่เศษ อยู่ห่างจากกรุงเทพ ๖๖๘ กิโลเมตร เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบ มีความเก่าแก่รุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัย มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมา รวมทั้งสิ้น ๖๔ พระองค์ น่านเดิมมีชื่อว่า “นันทบุรี” หรือ “วรนคร” สร้างขึ้นโดยพระยาภคา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ บริเวณที่ราบตำบลศิลา-เพชร หรือ อำเภอปัวในปัจจุบัน ใน พ.ศ.๑๙๐๒ พระยาการเมืองได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย ทรงเลือกดอยภูเพียงแช่แห้ง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกับย้ายเมืองมาสร้างใหม่บริเวณเชิงดอย ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑ แม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทิศทาง พระยาผากอง ราชบุตรพระยาการเมือง ได้ย้ายเมืองอีกครั้งมาตั้งที่บ้านห้วยไค้ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองน่านปัจจุบัน
     แม่น้ำน่านเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง แล้วไหลลงใต้ไปยังอำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา หลังจากนั้นไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ ๔๐ ของลำน้ำน่านนั้น หล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา

อาณาเขต
       ทิศเหนือ ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์
       ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดแพร่และจังหวัดพะเยา

การปกครอง
        จังหวัดน่านแบ่งการปกครองออกเป็น 15 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอนาน้อย อำเภอปัว อำเภอสองแคว อำเภอเชียงกลาง อำเภอนาหมื่น อำเภอทุ่งช้าง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอภูเพียง

คำขวัญประจำจังหวัด                                                                                                                                   "แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง"

จังหวัดน่านใช้ชื่ออักษรย่อว่า      "นน" 

ดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน   "ดอกเสี้ยวขาว"


ต้นไม้มงคลประจำจังหวัด     "กำลังเสือโคร่ง" Betula alnoides Buch-Ham.



ภูมิศาสตร์
    จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับลาว แต่ก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญด้วยนั่นคือ แม่น้ำน่านซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง เป็นต้น
    เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศหนาวจัด เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยภูเขาสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา ในอำเภอปัว มีความสูงถึง 1,980 เมตร